วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Auto WB ผิดไหมหวังผลได้แค่ไหน

ขอพูดแบบรวมๆนะครับ สำหรับผมเองก็ไม่ได้มีความรู้มากมายอะไรบทความนี้ ได้อ่านจากผู้ที่ชำนวญการท่านหนึ่ง เห็นว่าเหมาะแก่การกระจายต่อไป เลยเอามาฝากกันนะครับ


Auto White Balance

.
เป็น การปรับเลือกแบบอัตโนมัติโดยกล้องจะมีระบบวิเคราะห์จากโทนสีโดยรวมของภาพ เพื่อทำการตั้งค่าแสงให้อัตโนมัติเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ระบบนี้จะใช้งานง่ายไม่ต้องเสียเวลาในการเลือกปรับเปลี่ยนบ่อยๆ แต่เนื่องจากการวิเคราะห์ค่าแสงเป็นสิ่งที่มีการเตรียมข้อมูลไว้ล่วงหน้าตาม เกณฑ์กว้างๆ ดังนั้นหากภาพที่เราต้องการบันทึกมีโทนสีโดยรวมอมไปทางใดทางหนึ่งเช่นภาพของ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สระว่ายน้ำ หรือแม้กระทั่งพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก ก็อาจทำให้การวิเคราะห์ผิดเพี้ยนไปได้ การตั้งค่า White Balance แบบอัตโนมัติจะให้ผลค่อนข้างดีหากเป็นการถ่ายกลางแจ้ง หรือในร่ม แต่จะไม่ค่อยดีนักหากเป็นการถ่ายภายใต้แสงไฟนีออนหรือไฟหลอดไส้ (สำหรับกล้องบางรุ่น)
.

Daylight, Sunny หรือภาพพระอาทิตย์

.
เป็น การปรับสมดุลย์สีของแสงสำหรับการถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือในเวลาที่มีแดดจ้า สภาพแสงจะใกล้เคียงกับสีขาวมากที่สุด โดยที่อุณหภูมิสีของแสงในการตั้งค่าล่วงหน้าของกล้องจะอยู่ที่ประมาณ 5000 - 6000 องศาเคลวิน การเลือกในลักษณะนี้จะใกล้เคียงกับภาพที่ได้เมื่อบันทึกด้วยฟิล์ม
.

Shade, Cloudy หรือภาพก้อนเมฆ

.
เป็น การปรับสมดุลย์สีของแสงสำหรับการถ่ายภาพกลางแจ้งแต่สภาพท้องฟ้าค่อนข้าง ครึ้ม ไม่มีแดดหรือมีเมฆมาก เพื่อลดโทนสีน้ำเงินออกจากภาพไปบ้าง โดยทั่วไปจะทำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ค่อยเห็นผลแตกต่างจากการเลือกปรับแบบ daylight หรือ auto เท่าไรนัก สำหรับกล้องคอมแพคส่วนใหญ่แล้วการถ่ายภาพในร่ม shade หรือ เมฆมาก cloudy จะ
อยู่ ด้วยกัน แต่สำหรับกล้องระดับสูงหน่อย อาจมีแยกให้เลือก ซึ่งในกรณีนี้ค่าของ shade จะใช้ถ่ายภาพในกรณีที่มีความครึ้มโดยรวมมากกว่า (อุณหภูมิสีของแสงสูงกว่า cloudy) เมื่อเลือกที่ shade ค่าของสีน้ำเงินจะถูกตัดทอนให้ลดลงมากกว่า cloudy
Incandescent, Tungsten, หรือภาพไฟหลอดไส้
เป็น การปรับสมดุลย์สีของแสงสำหรับการถ่ายภาพภายใต้แหล่งกำเนิดแสงที่มีสีอมส้ม เหลืองมาก เพื่อลดโทนสีส้ม-เหลืองออกไป แต่หากใช้ผิดพลาดภาพจะออกมาอมน้ำเงินดูหลอกตาที่สุด การเลือกใช้จึงควรระวัง เพราะในบางกรณีที่สภาพแหล่งกำเนิดแสงไม่ได้เพี้ยนมากนัก การเลือกใช้ white balance ตัวอื่นอาจให้ค่าที่เหมาะสมกว่า
.

Fluorescent หรือภาพไฟนีออน

.
เป็น การปรับสมดุลย์สีของแสงสำหรับการถ่ายภาพภายใต้แสงไฟนีออน ซึ่งจะให้สีอมเขียว จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทหลอดด้วย หลอด fluorescent ไม่มีอุณหภูมิสีที่แน่นอน ดังนั้นการตั้งค่าจึงออกจะเป็นกลางๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทของหลอดไฟเองก็มีหลายแบบ ทั้ง Warm White, Daylight, Cool White ซึ่งบางครั้งการเลือกตั้งค่าก็ค่อนข้างสับสน ทางที่ดีควรดูก่อนว่าตัวไหนให้เฉดสีที่ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด กล้องดิจิตอลบางรุ่นจะแยกประเภทหลอดไฟนีออนมาให้เลือกได้อีก จึงควรทำความเข้าใจก่อนว่าหลอดไหนสำหรับโทนสีอะไร เพื่อกันความผิดพลาด แต่ข้อดีของกล้องดิจิตอลคือการมองเห็นภาพทันทีดังนั้นหากตั้งค่าผิดคงไม่ยาก เกินไปที่จะแก้ไข หรือในกล้องบางรุ่นมีระบบถ่ายภาพ white balance คร่อมไว้ได้ก็ยิ่งมีประโยชน์
.

Custom White Balance

.
เป็น การปรับสมดุลย์สีของแสงตามสภาพแสงที่ถ่ายจริงขณะบันทึกภาพ ซึ่งผู้ใช้จะต้องกำหนดเองโดยมีความรู้เรื่องของอุณหภูมิสีของแสงมากพอควร หากทำได้ถูกต้องก็จะให้ผลค่อนข้างแม่นยำ แต่หากผิดแล้วสีอาจเพี้ยนไปได้มาก หลักสำคัญคือเวลาตั้งค่าต้องทำภายใต้แสงที่จะถ่ายจริงคือวัดแสงจากตรง ตำแหน่งที่จะถ่ายเป็นหลัก การตั้งค่าค่อนข้างจะเหมือนกันคือให้ถ่ายภาพกระดาษสีขาวโดยซูมให้เต็มเฟรม ภาพ ที่สำคัญคือตำแหน่งของกระดาษจะต้องอยู่ที่ตำแหน่งของการถ่ายภาพจริงๆเท่า นั้น ในขณะที่กล้องบางรุ่นจะมีการปรับค่า white balance เป็นองศาเคลวินมาให้ผู้ใช้เลือกเอง ซึ่งในส่วนนี้ผู้ใช้คงต้องแม่นกับอุณหภูมิสีของแสงพอสมควร หรืออาจใช้เป็นลูกเล่นในการแต่งสีภาพเหมือนกับการใช้ฟิลเตอร์เติมสีสันให้ กับภาพก็สามารถทำได้

เรื่อง white balance ที่ไม่ควรมองข้ามไป

หลายๆคนอาจรู้จักกับ WB หรือ white balance แต่ผมเชื่อว่าหลายๆคนยังไม่รู้หรอกว่ามันอยู่ส่วนไหนของกล้องของเรา หรือบางคนอาจรู้แล้วแต่ ตั้ง auto ไว้ อันนี้ก็ไม่ผิดแต่เราลองไปดูกันหน่อยไหมว่ามันช่วยอะไรกับภาพเราได้บ้าง

หากหลายๆคนใช้เลนส์นอกค่ายอย่าง sigma เอง ก็บอกว่าอมส้ม อมเหลืองบ้าง หรือ temme เอง ก็อมชมภูหวานเกินไป บ้าง ทั้งหมดนี้เกิดจาก WB ทั้งสิ้น (ถ้าไม่ทั้งหมดก็ เกือบๆทั้งหมดนั้นละ)

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึง WB เป็นห่วย Kelvin กล้อง พวก canon 3 หลักไม่สามารถปรับได้ละเอียดเป็น K ได้นะครับ และ Nikon 3xxx 5xxx ก็เช่นกัน จะมีให้ปรับได้ใน พวกกึ่งโปรเท่านั้น แต่เราก็ยังพอปรับ wb หลักๆที่เขากำหนดมาให้ได้นะครับ ไม่ต้องน้อยใจไป












ในภาพถ่ายที่มีสีอมฟ้า อมส้ม นั่นเป็นเพราะแหล่งกำเนิดแสงแบบต่างๆที่ให้ค่าอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน หรือแม้กระทั่งแสงจากดวงอาทิตย์ ก็มีอุณหภูมิสีที่แปรค่าไปตามแต่ละช่วงเวลาเช่นกัน ดังนั้นเราจะเห็นว่าแสงตอนกลางวันในวันที่ไม่มีเมฆจะเป็นสีขาว(เรียกว่าแสง Daylight) ส่วนเวลาเย็นๆแสงจะเป็นโทนอุ่นๆมีสีอมเหลืองหรือส้ม ส่วนในที่ร่มครึ้มหรือวันที่มีเมฆมากๆจะเป็นโทนเย็นหรือเป็นสีอมฟ้า ตาของคนเรามีความสามารถพิเศษในการมองวัตถุสีขาวให้เป็นสีขาวได้ภายใต้สภาพ แสงต่างๆ ซึ่งในระบบกล้องถ่ายภาพก็มีระบบปรับสมดุลแสงสีขาว White Balance เพื่อทีจะทำให้วัตถุสีขาวยังคงมีสีขาวในสภาพแสงต่างๆ เช่นเดียวกับที่ตาคนเราทำได้ แต่ระบบ Auto White Balance มันก็จะมีลิมิตอยู่ในช่วงอุณหภูมิแสงช่วงหนึ่งที่มันทำงานได้ดี
 ตัวอย่างภาพที่ได้จากการย้อมสี wb ให้ได้ตาม wb ที่ต้องการหลังจากการถ่ายแล้ว 

Note: ภาพถ่ายโทนเย็น และ ภาพถ่ายโทนอุ่น ที่ผิดเพี้ยนจากสภาพแสงจริงอาจนำมาใช้เพื่อสร้างอารมณ์ให้กับภาพถ่ายได้ ภาพโทนเย็นทำให้รู้สึกสงบและผ่อนคลาย ในขณะที่ภาพโทนอุ่นๆจะกระตุ้นให้ดูน่าสนใจและปลุกเร้าอารมณ์ได้



ฉบับเต็มจาก
http://rpst.mobi/phpbb3/viewtopic.php?t=2213

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้อดีของ PS6 ที่คนปริ้นงานบ่อยๆต้องเจอ

ตัวอย่าง ภาพของของหน้าปริ้น PS6
หลายๆคนอาจเคยปริ้นแล้วตกขอบบ้าง ไม่รู้ว่าจะเหลือขนาดขอบมากหรือน้อยหรือไม่ก็กินขอบไปบ้าง แต่ Photoshop CS6 ช่วยท่านได้แล้วตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไปกับหน้าการจะกันปริ้นแบบใหม่

1.จะเห็นว่ามีขอบแสดงว่าตรงนั้นไม่สามารถปริ้นได้นะ เจ๋งดีนะผมว่า
2. เวลาเราสั่งปริ้นจะมีการยืนยัน หลายๆคนบอกว่าเสียเวลาแต่ผมว่าชัวร์ดี
3. Color Management แบบใหม่ล่าสุด ยกเครื่องพร้อมๆกับ Lightroom4 นั้นละ ผมรู้สึกว่าปริ้นได้สว่างกว่าเคย สำหรับโทนมืดๆ
4. การตั้งค่าที่มีให้อย่างละเอียด ความผิดพลาดย่อลดลง เพราะ Auto ก็เก่งมากเหมือนกัน

สำหรับท่านไหนที่ไม่ได้ทดสอบ CS6 ผมแนะนำว่าท่านจะไม่ผิดหวัง ตอนนี้ Adobe Thailand ก็มีจำหนายแล้วนะครับ ท่านไหนที่ใช้ 5.1 ก็สามารถอัพเกรดได้ ฟรีหรือไม่ผมไม่แน่ใจ

ไว้โอกาศหน้าว่างๆจะแวะมาลงรายละเอียดกันนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

LR4 ว่าด้วย Develop Panal ใหม่

ก่อนอื่นเลย เรามาพูดถึงข้อมูลทางเทคนิคก่อน ว่ามีอะไรที่เพิ่มมาบ้าง
1. Process system 2012 ใหม่หมดจด ประมวลผลได้ดีกว่าเดิม
2. Camera RAW ใหม่ล่าสุด 7.x (7.0 for LR4 and 7.1 for LR4.1)
3. ส่วนของการทำ Photobook ทำให้เราทำงานได้ง่ายดายกว่าที่เคยเป็นมา
4. Video ปาดตัดต่อ Video ได้ด้วย และสามารถใช้ Preset ได้ด้วยนะ มันเจ๋งมาก
5. อันนี้ไม่ใช่อะไร คือผมว่ามันอืดกว่าเดิม เวลา zoom 100% เหมือนประมวลผลไม่ทัน
6. ใช้พื้นที่มากกว่าที่เคยมา
7. อันนี้น่าจะเห็นได้ชัด คือ การแบ่งกลุ่มของ Preset ง่ายต่อการค้นหาสำหรับคนที่มี 600-700 Preset หาเจอได้สบาย ผมรับรอง
8. ความเร็วในการ Render or Export เร็วมากกว่า LR3 แน่นอนถึงแม้ว่าจะทำงานช้าเวลาแต่งภาพก็ตาม
9. ความเป็นมิตรกับผู้ใช้ และเชื่อมโยงโปรแกรงอื่นๆได้มากกว่าเดิม
ภาพประกอบ หน้าต่างโปรแกรม LR4.1


ในส่วนของ Develop ก็ได้มีการประปรุ่งใหม่หมดจด เรียกได้ว่ารีดพลังของไฟร์ได้เต็มความสามารถกว่าเดิม
แต่ผมมีข้อแม้นะครับว่า เราต้องเข้าใจการทำงานของ Curve ให้ดีนะครับ
สิ่งแรกเลย ที่เราจะได้เห้นใน LR4 ก็คือ Process System ที่ใช้ รูปแบบ 2012 ซึ่ง LR3 จะใช้ 2010
แล้วมันต่างกันอย่างไรละครับ นั้นซิ..
แล้ว เราจะปรับอย่างไรได้บ้างเดียวแสดงให้ชมในบทความหน้านะครับ