วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรื่อง white balance ที่ไม่ควรมองข้ามไป

หลายๆคนอาจรู้จักกับ WB หรือ white balance แต่ผมเชื่อว่าหลายๆคนยังไม่รู้หรอกว่ามันอยู่ส่วนไหนของกล้องของเรา หรือบางคนอาจรู้แล้วแต่ ตั้ง auto ไว้ อันนี้ก็ไม่ผิดแต่เราลองไปดูกันหน่อยไหมว่ามันช่วยอะไรกับภาพเราได้บ้าง

หากหลายๆคนใช้เลนส์นอกค่ายอย่าง sigma เอง ก็บอกว่าอมส้ม อมเหลืองบ้าง หรือ temme เอง ก็อมชมภูหวานเกินไป บ้าง ทั้งหมดนี้เกิดจาก WB ทั้งสิ้น (ถ้าไม่ทั้งหมดก็ เกือบๆทั้งหมดนั้นละ)

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึง WB เป็นห่วย Kelvin กล้อง พวก canon 3 หลักไม่สามารถปรับได้ละเอียดเป็น K ได้นะครับ และ Nikon 3xxx 5xxx ก็เช่นกัน จะมีให้ปรับได้ใน พวกกึ่งโปรเท่านั้น แต่เราก็ยังพอปรับ wb หลักๆที่เขากำหนดมาให้ได้นะครับ ไม่ต้องน้อยใจไป












ในภาพถ่ายที่มีสีอมฟ้า อมส้ม นั่นเป็นเพราะแหล่งกำเนิดแสงแบบต่างๆที่ให้ค่าอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน หรือแม้กระทั่งแสงจากดวงอาทิตย์ ก็มีอุณหภูมิสีที่แปรค่าไปตามแต่ละช่วงเวลาเช่นกัน ดังนั้นเราจะเห็นว่าแสงตอนกลางวันในวันที่ไม่มีเมฆจะเป็นสีขาว(เรียกว่าแสง Daylight) ส่วนเวลาเย็นๆแสงจะเป็นโทนอุ่นๆมีสีอมเหลืองหรือส้ม ส่วนในที่ร่มครึ้มหรือวันที่มีเมฆมากๆจะเป็นโทนเย็นหรือเป็นสีอมฟ้า ตาของคนเรามีความสามารถพิเศษในการมองวัตถุสีขาวให้เป็นสีขาวได้ภายใต้สภาพ แสงต่างๆ ซึ่งในระบบกล้องถ่ายภาพก็มีระบบปรับสมดุลแสงสีขาว White Balance เพื่อทีจะทำให้วัตถุสีขาวยังคงมีสีขาวในสภาพแสงต่างๆ เช่นเดียวกับที่ตาคนเราทำได้ แต่ระบบ Auto White Balance มันก็จะมีลิมิตอยู่ในช่วงอุณหภูมิแสงช่วงหนึ่งที่มันทำงานได้ดี
 ตัวอย่างภาพที่ได้จากการย้อมสี wb ให้ได้ตาม wb ที่ต้องการหลังจากการถ่ายแล้ว 

Note: ภาพถ่ายโทนเย็น และ ภาพถ่ายโทนอุ่น ที่ผิดเพี้ยนจากสภาพแสงจริงอาจนำมาใช้เพื่อสร้างอารมณ์ให้กับภาพถ่ายได้ ภาพโทนเย็นทำให้รู้สึกสงบและผ่อนคลาย ในขณะที่ภาพโทนอุ่นๆจะกระตุ้นให้ดูน่าสนใจและปลุกเร้าอารมณ์ได้



ฉบับเต็มจาก
http://rpst.mobi/phpbb3/viewtopic.php?t=2213

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น