วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Auto WB ผิดไหมหวังผลได้แค่ไหน

ขอพูดแบบรวมๆนะครับ สำหรับผมเองก็ไม่ได้มีความรู้มากมายอะไรบทความนี้ ได้อ่านจากผู้ที่ชำนวญการท่านหนึ่ง เห็นว่าเหมาะแก่การกระจายต่อไป เลยเอามาฝากกันนะครับ


Auto White Balance

.
เป็น การปรับเลือกแบบอัตโนมัติโดยกล้องจะมีระบบวิเคราะห์จากโทนสีโดยรวมของภาพ เพื่อทำการตั้งค่าแสงให้อัตโนมัติเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ระบบนี้จะใช้งานง่ายไม่ต้องเสียเวลาในการเลือกปรับเปลี่ยนบ่อยๆ แต่เนื่องจากการวิเคราะห์ค่าแสงเป็นสิ่งที่มีการเตรียมข้อมูลไว้ล่วงหน้าตาม เกณฑ์กว้างๆ ดังนั้นหากภาพที่เราต้องการบันทึกมีโทนสีโดยรวมอมไปทางใดทางหนึ่งเช่นภาพของ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สระว่ายน้ำ หรือแม้กระทั่งพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก ก็อาจทำให้การวิเคราะห์ผิดเพี้ยนไปได้ การตั้งค่า White Balance แบบอัตโนมัติจะให้ผลค่อนข้างดีหากเป็นการถ่ายกลางแจ้ง หรือในร่ม แต่จะไม่ค่อยดีนักหากเป็นการถ่ายภายใต้แสงไฟนีออนหรือไฟหลอดไส้ (สำหรับกล้องบางรุ่น)
.

Daylight, Sunny หรือภาพพระอาทิตย์

.
เป็น การปรับสมดุลย์สีของแสงสำหรับการถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือในเวลาที่มีแดดจ้า สภาพแสงจะใกล้เคียงกับสีขาวมากที่สุด โดยที่อุณหภูมิสีของแสงในการตั้งค่าล่วงหน้าของกล้องจะอยู่ที่ประมาณ 5000 - 6000 องศาเคลวิน การเลือกในลักษณะนี้จะใกล้เคียงกับภาพที่ได้เมื่อบันทึกด้วยฟิล์ม
.

Shade, Cloudy หรือภาพก้อนเมฆ

.
เป็น การปรับสมดุลย์สีของแสงสำหรับการถ่ายภาพกลางแจ้งแต่สภาพท้องฟ้าค่อนข้าง ครึ้ม ไม่มีแดดหรือมีเมฆมาก เพื่อลดโทนสีน้ำเงินออกจากภาพไปบ้าง โดยทั่วไปจะทำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ค่อยเห็นผลแตกต่างจากการเลือกปรับแบบ daylight หรือ auto เท่าไรนัก สำหรับกล้องคอมแพคส่วนใหญ่แล้วการถ่ายภาพในร่ม shade หรือ เมฆมาก cloudy จะ
อยู่ ด้วยกัน แต่สำหรับกล้องระดับสูงหน่อย อาจมีแยกให้เลือก ซึ่งในกรณีนี้ค่าของ shade จะใช้ถ่ายภาพในกรณีที่มีความครึ้มโดยรวมมากกว่า (อุณหภูมิสีของแสงสูงกว่า cloudy) เมื่อเลือกที่ shade ค่าของสีน้ำเงินจะถูกตัดทอนให้ลดลงมากกว่า cloudy
Incandescent, Tungsten, หรือภาพไฟหลอดไส้
เป็น การปรับสมดุลย์สีของแสงสำหรับการถ่ายภาพภายใต้แหล่งกำเนิดแสงที่มีสีอมส้ม เหลืองมาก เพื่อลดโทนสีส้ม-เหลืองออกไป แต่หากใช้ผิดพลาดภาพจะออกมาอมน้ำเงินดูหลอกตาที่สุด การเลือกใช้จึงควรระวัง เพราะในบางกรณีที่สภาพแหล่งกำเนิดแสงไม่ได้เพี้ยนมากนัก การเลือกใช้ white balance ตัวอื่นอาจให้ค่าที่เหมาะสมกว่า
.

Fluorescent หรือภาพไฟนีออน

.
เป็น การปรับสมดุลย์สีของแสงสำหรับการถ่ายภาพภายใต้แสงไฟนีออน ซึ่งจะให้สีอมเขียว จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทหลอดด้วย หลอด fluorescent ไม่มีอุณหภูมิสีที่แน่นอน ดังนั้นการตั้งค่าจึงออกจะเป็นกลางๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทของหลอดไฟเองก็มีหลายแบบ ทั้ง Warm White, Daylight, Cool White ซึ่งบางครั้งการเลือกตั้งค่าก็ค่อนข้างสับสน ทางที่ดีควรดูก่อนว่าตัวไหนให้เฉดสีที่ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด กล้องดิจิตอลบางรุ่นจะแยกประเภทหลอดไฟนีออนมาให้เลือกได้อีก จึงควรทำความเข้าใจก่อนว่าหลอดไหนสำหรับโทนสีอะไร เพื่อกันความผิดพลาด แต่ข้อดีของกล้องดิจิตอลคือการมองเห็นภาพทันทีดังนั้นหากตั้งค่าผิดคงไม่ยาก เกินไปที่จะแก้ไข หรือในกล้องบางรุ่นมีระบบถ่ายภาพ white balance คร่อมไว้ได้ก็ยิ่งมีประโยชน์
.

Custom White Balance

.
เป็น การปรับสมดุลย์สีของแสงตามสภาพแสงที่ถ่ายจริงขณะบันทึกภาพ ซึ่งผู้ใช้จะต้องกำหนดเองโดยมีความรู้เรื่องของอุณหภูมิสีของแสงมากพอควร หากทำได้ถูกต้องก็จะให้ผลค่อนข้างแม่นยำ แต่หากผิดแล้วสีอาจเพี้ยนไปได้มาก หลักสำคัญคือเวลาตั้งค่าต้องทำภายใต้แสงที่จะถ่ายจริงคือวัดแสงจากตรง ตำแหน่งที่จะถ่ายเป็นหลัก การตั้งค่าค่อนข้างจะเหมือนกันคือให้ถ่ายภาพกระดาษสีขาวโดยซูมให้เต็มเฟรม ภาพ ที่สำคัญคือตำแหน่งของกระดาษจะต้องอยู่ที่ตำแหน่งของการถ่ายภาพจริงๆเท่า นั้น ในขณะที่กล้องบางรุ่นจะมีการปรับค่า white balance เป็นองศาเคลวินมาให้ผู้ใช้เลือกเอง ซึ่งในส่วนนี้ผู้ใช้คงต้องแม่นกับอุณหภูมิสีของแสงพอสมควร หรืออาจใช้เป็นลูกเล่นในการแต่งสีภาพเหมือนกับการใช้ฟิลเตอร์เติมสีสันให้ กับภาพก็สามารถทำได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น